ชื่อเรื่อง     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารญาณ  โดยใช้หนังสือส่งเสริม   การอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่ม  ร่วมมือแบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย         นางจิรารัตน์  ภวภูตานนท์

สถานศึกษา   โรงเรียนนาข่าวิทยาคม  องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

ปีที่ศึกษา        2558     

                                           

บทคัดย่อ

                    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดเป็น  อ่านเป็น  โดยเฉพาะเรื่องงการอ่านอย่างมีวิจารญาณ  สภาพการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีปัญหาอยู่มาก  ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์  เรื่อง  การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน  ประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่ม  ร่วมมือแบ STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์  เรื่อง  การอ่านอย่างมีวิจารญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบ STAD  3) หาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียน เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบ STAD  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน  เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบ STAD  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2  โรงเรียนนาข่าวิทยาคม  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2558  จำนวน 30  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4  ชนิด  คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบ STAD  ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.45  หนังสือส่งเสริมการอ่านจำนวน 5 เล่ม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 1 ฉบับ  เป็นแบบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน 40  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26  ถึง 0.60  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.85 และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  จำนวน 20 ข้อ  ซึ่งผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ และมีค่าความเชื่อมมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบสมมติฐาน  โดยใช้ค่าที ( t-test Dependent Samples) 

                    ผลการวิจัยพบว่า

                          1. สภาพปัญหาการสอนภาษาไทย  ทั้ง 5 ด้าน  อยู่ในระดับปานกลาง (=

2.84,S.D.= .64)  เมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่า  ด้านที่มีระดับปัญหามากที่สุด  ได้แก่  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  รองลงมา คือ  ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้  และด้านที่มีระดับปัญหาน้อยที่สุด คือ  ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะว่า  ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบ และอันดับสุดท้าย คือ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรเพิ่มด้านงบประมาณให้กับการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้กับครูภาษาไทย

                          2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.36/83.93 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  80/80 ที่ตั้งไว้ 

                          3. มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.73 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงขึ้น

0.73 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.61

                          4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย

ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือ

แบบ STAD  อยู่ในระดับมากที่สุด  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.56 

                          สรุปได้ว่า  แผนการจัดการเรียนรู้  ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างดี  เหมาะสมที่จะนำไปใช้กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนให้แพร่หลายต่อไป